เสียงคืออะไร
เสียงคือพลังงานรูปแบบหนึ่งที่เกิดจากการสั่นสะเทือน และสามารถถ่ายทอดผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ น้ำ หรือของแข็ง
คลื่นเสียงจัดอยู่ในประเภทของคลื่นชนิดใด
คลื่นกลตามยาว
ประกอบด้วย อัตราเร็ว(v) ระยะทาง(s) และเวลา(t)
อวัยวะใดของร่างกายที่ใช้รับเสียง
หู
มลภาวะทางเสียงหมายถึงอะไร
เสียงรบกวนหรือเสียงดังเกินระดับที่ปลอดภัยต่อร่างกาย
เสียงเกิดขึ้นได้จากสิ่งใดบ้างในชีวิตประจำวัน(แหล่งกำเนิดเสียง) ยกตัวอย่าง 3 อย่าง
มนุษย์พูด เสียงจากเครื่องยนต์ เสียงจากธรรมชาติ เช่น ลม ฝน ฟ้าร้อง
ทำไมเราจึงได้ยินเสียงช้ากว่าที่เห็นฟ้าแลบ
เพราะแสงเดินทางเร็วกว่าเสียงมาก
สูตรในการหาระยะทางคือ
s=Vxt
หากเยื่อแก้วหูฉีกขาด จะมีผลอย่างไรต่อการได้ยิน
การได้ยินลดลง เสียงไม่สามารถส่งผ่านไปยังหูชั้นกลางได้ดี
ยกตัวอย่างแหล่งกำเนิดเสียงที่เป็นมลภาวะทางเสียง 3 แหล่ง
การจราจร โรงงานอุตสาหกรรม เสียงก่อสร้าง
เหตุใดสายที่ตึงกว่าจึงให้เสียงสูงกว่า
เพราะสายที่ตึงจะสั่นเร็วขึ้น ความถี่สูงขึ้น จึงเกิดเสียงสูง
คลื่นเสียงแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ได้แก่อะไรบ้าง
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ คลื่นเสียงที่หูมนุษย์ได้ยิน คลื่นใต้ เสียง และคลื่นเหนือเสียง
ถ้าต้องการหาระยะทาง แต่โจทย์กำหนดเวลาทั้งหมด(ไป-กลับ) ต้องทำอย่างไร
ต้องใช้สูตร s=Vxt/2 เพื่อต้องการหาเวลาแค่ 1 รอบเพื่อให้เท่ากับระยะทางหรือระยะห่าง
เสียงดังเกินไปอาจทำลายอวัยวะใด และมีผลอย่างไร
ขนรับเสียงในหูชั้นในอาจเสียหาย ทำให้หูตึงถาวร
มลภาวะทางเสียงมีผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง
ทำให้หูตึง นอนไม่หลับ ความเครียด ความดันโลหิตสูง
ทำไมเราถึงไม่ได้ยินเสียงในอวกาศ
เพราะในอวกาศไม่มีตัวกลาง เช่น อากาศ ที่จะนำคลื่นเสียงมาถึงหูของเรา
ถ้าเราอยู่ใต้น้ำ จะได้ยินเสียงแตกต่างจากอยู่ในอากาศอย่างไร และเพราะอะไร
เสียงจะดังขึ้นเพราะน้ำส่งผ่านคลื่นเสียงได้ดีกว่า แต่การรับรู้ของเราจะต่างออกไปเพราะโครงสร้างร่างกายเปลี่ยนการรับเสียง
ถ้าเสียงเดินทางด้วยความเร็ว 340 m/s ใช้เวลากี่วินาทีในการเดินทาง 680 เมตร
2 วินาที
บอกหน้าที่ของหูชั้นนอก กลาง และใน อย่างย่อ
ชั้นนอกรับคลื่นเสียง ชั้นกลางขยายแรงสั่น ชั้นในแปลคลื่นเสียงเป็นสัญญาณประสาท
เราจะสามารถลดปัญหามลภาวะทางเสียงในบ้านหรือโรงเรียนได้อย่างไร
ใช้วัสดุดูดซับเสียง ลดการใช้เสียงดัง ไม่เปิดเพลงเสียงดัง ใช้หูฟังให้พอดี
หากไม่มีเสียงในโลกนี้เลย จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและมนุษย์อย่างไร
มนุษย์จะสื่อสารกันไม่ได้ในแบบที่คุ้นเคย สัตว์บางชนิดไม่สามารถหาอาหารหรือหลบภัยได้ การเตือนภัยหรือสื่อสารด้วยเสียงจะหายไป ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ
คลื่นเสียงสามารถสะท้อน หักเห หรือดูดกลืนได้หรือไม่ ยกตัวอย่างอย่างละ 1 กรณี
สะท้อน: เสียงสะท้อนในห้องโถง หักเห: เสียงเปลี่ยนทิศเมื่อผ่านน้ำกับอากาศ ดูดกลืน: เสียงเบาลงเมื่อผ่านผ้าม่าน
เสียงสะท้อนจากหน้าผาใช้เวลา 0.4 วินาทีในการเดินทางไป-กลับ ความเร็วเสียงในอากาศคือ 340 m/s หน้าผาอยู่ห่างจากผู้ส่งเสียงกี่เมตร
ระยะ = (340 × 0.4) ÷ 2 = 68 เมตร
อธิบายเส้นทางการได้ยินเสียงจากแหล่งกำเนิดมาจนถึงสมอง
เสียง → หูชั้นนอก → เยื่อแก้วหู → กระดูกเล็กในหู → คอเคลีย → ปลายประสาทรับเสียง → เส้นประสาท → สมอง
ออกแบบโครงการรณรงค์ “ลดเสียง สร้างสุข” พร้อมแนวคิดหลัก
เช่น “เสียงเบา ใจเบา” – ลดเสียงในโรงเรียน เช่น ลดเสียงกริ่ง ใช้ป้ายเตือน พูดเบา ๆ ฯลฯ